ซื้อ-ขายสินค้าออนไลน์ที่เปิดร้านกับพลาซ่าคูล


6 ข้อผิดพลาด ที่มีเสมอ ของเว็บ e-commerce ชาวไทย

10 ข้อผิดพลาด ที่มีเสมอ ของเว็บ e-commerce ชาวไทย

ก่อน อื่นผมขอออกตัวไว้ก่อนนะครับว่าผมไม่ได้เก่ง หรืออยากตำหนิใคร เพียงแต่อยากจะเล่าเรื่องให้ฟังว่าเว็บ e-commerce ที่ดีมันควรเป็นยังไง จะได้ช่วยๆ กับปรุงปรุงเว็บไซต์ของตัวเองให้ดูดี และน่าเชื่อถือมากขึ้น เนื้อหาเรื่องนี้ค่อนข้างยาว ผมเลยจะซอยออกเป็น 2 ตอนย่อย และทยอยอัพเดทไปครับ  ในตอนท้ายของแต่ละหัวข้อแถมแนบตัวอย่างมาให้ดูด้วย โดยจะเน้นตัวอย่างเว็บไทยเป็นหลัก(ก็เว็บที่ผมทำนี้แหละเอาละ อย่าพูดพร่ำทำเพลงให้เสียเวลา ว่ากันเลยดีกว่า

ข้อผิดลาดที่ 1. ใส่รายละเอียดสินค้าน้อยเกินไป

ลูกค้าเวลาซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านเว็บไซต์แน่นอนว่าเค้าไม่ได้จับต้องตัว สินค้า ไม่เห็นสินค้าตัวเป็นๆ เพราะฉะนั้น สิ่งที่จะสามารถทำให้ลูกค้าจินตนาการถึงสินค้าได้นั้นคือรายละเอียดของ สินค้าครับ ใส่ให้ได้เยอะที่สุดเท่าที่จะมากได้ อธิบายให้ละเอียดในทุกจุด  สมมุติว่าคุณขาย “ถุงยางอนามัย” ก็ต้อง บอก ขนาด สี กลิ่น รส วันหมดอายุ ขนาดดบรรจุต่อกล่อง สารหล่อลื่นมีหรือไม่ รูปทรงเป็นยังไง ผิวสัมผัส คุณสมบัติเด่นๆ ของสินค้าตัวนั้นๆ ฯลฯ ซึ่งแม้บางครั้งลูกค้าอาจจะไม่ต้องการข้อมูลเยอะขนาดนั้น แต่การมีไว้ เวลาลูกค้าต้องการหาแล้วมี ย่อมเป็นผลดีต่อการขายสินค้ามากกว่า อีกอย่างคือ การลงรายละเอียดสินค้าไว้โดยครบถ้วนสมบูรณ์นั้น จะทำให้ลดการโทรมาสอบถามถึงรายละเอียดสินค้าได้มาก และสามารถปิดการขายได้เร็วขึ้น เพราะลูกค้าไม่ต้องเสียเวลาโทรมาถาม หยิบใส่รถเข็น Checkout ได้เลย

สิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งนอกจากรายละเอียดสินค้าต้องครบถ้วนแล้ว การนำเสนอรายละเอียดสินค้าก็สำคัญไม่แพ้กัน การที่คุณมีรายละเอียดสินค้าเยอะ แต่นำเสนอด้วยตัวหนังสือทั้งหมด มันจะทำให้น่าเบื่อ และไม่มีใครอ่าน เพราะลูกค้าส่วนมากเห็นตัวหนังสือยาวๆ ซัก 3-4 ย่อหน้าก็ท้อแล้ว เพราะธรรมชาติของคนไทย(โดยส่วนมาก) ยังติดนิสัยขี้เกียจอ่านอยู่   ยกเว้น แต่ว่าสินค้านั้นๆ ราคาแพงจริงๆ ถึงจะอ่านละเอียด อ้าว…ไหนเมื่อกี้บอกให้เสนอละเอียดๆ ไง @5 ใช่ครับรายละเอียดสินค้านั้นสำคัญมาก แต่…

ต้องละเอียดและนำเสนออย่างน่าสนใจ ใช้รูปภาพแทนข้อความ ใช้ตารางนำเสนอข้อมูล ใช้กราฟ ใช้สัญลักษณ์ หรืออะไรที่มันดูเข้าใจง่ายๆ ตัวอย่างดีๆ ก็อย่างเช่นเว็บไซต์ playcondom.com ครับ เห็นรายละเอียดสินค้าแล้ว ไม่ต้องโทรถามให้เสียเวลาเลย แจ่มชัดทุกประเด็น

สิ่งที่ควรทำ

ลงรายละเอียดสินค้าให้ละเอียดที่สุดเท่าที่จะทำได้ นำเสนอโดยใช้รูปภาพ สัญลักณ์ หรือตารางประกอบด้วย และควรจัดรูปแบบหน้าให้น่าอ่าน ใช้สีสันให้เหมาะสม สีตัวหนังสือ ควรใช้ไม่เกิน 2-3 สี โดยแยกสีเน้นหัวข้อเท่านั้น
ใส่รายละเอียดสินค้าให้ละเอียดๆ นะครับ

ข้อผิดพลาดที่ 2. เบอร์โทรที่ลงไว้ ตัวเล็กมาก

แม้ว่าจะลงรายละเอียดสินค้าไว้ละเอียดและดีแล้ว แต่เบอร์โทรสำหรับติดต่อผู้ขายยังเป็นสิ่งที่สำคัญมากอยู่ครับ เพราะนอกจากมันจะช่วยให้ลูกค้าที่อาจมีข้อสงสัย ได้ติดต่อได้โดยสะดวกแล้ว การโชว์เบอร์โทรตัวใหญ่ๆ ยังช่วยให้เพิ่มความน่าเชื่อถือให้เว็บไซต์ได้ด้วย เปรียบเสมือนพ่อค้าเต็มใจให้บริการ เต็มใจช่วยเหลือ พร้อมที่จะให้ลูกค้าโทรถามได้ตลอดเวลา

สิ่งที่ควรทำ

เพราะฉะนั้นสิ่งที่ควรทำก็คือ โชว์ครับ โชว์เบอร์โทรไว้ในตำแหน่งที่เห็นได้เด่นชัด เหมาะที่สุดก็คงเป็นมุมขวาบนครับ และถ้าไม่ขัดกับดีไซต์ของเว็บมากเกินไป ก็ให้ใส่ตัวใหญ่ๆ ไว้เลยครับ นอกจากเบอร์โทรแล้ว อีเมล์สำหรับติดต่อก็สำคัญไม่แพ้กันครับ ใส่ไว้ด้วยจะดีมากๆ ดูตัวอย่างจากรูปได้เลยครับ

ข้อผิดพลาดที่ 3. รูปสินค้าห่วย

เวลาผมเข้าเว็บไซต์ขายของของไทย ผมพบเสมอว่า กว่า 95% ของเว็บขายสินค้าในไทย มีรูปสินค้าอยู่ในเกณฑ์ที่แย่มาก (หรืออาจพูดตรงๆ ไปได้เลยว่า รูปห่วย)  บางครั้งเจ้าของเว็บอาจลืมไปว่ารูปสินค้านั้นสำคัญกว่าคำบรรยายคุณสมบัติ เลิศหรูซะอีก เพราะมันคือของจริง โกหกกันไม่ได้  และลืมไปว่าการที่ลูกค้าซื้อของออนไลน์นั้นลูกค้าไม่ได้หยิบจับสินค้านั้น จริงๆ เพราะฉะนั้นสิ่งที่เป็นตัวแทนของสินค้านั้นๆ ได้ ไม่มีอะไรดีกว่ารูปภาพของสินค้าอีกแล้ว ลองพิจารณาซิว่ารูปสินค้าในเว็บคุณเข้าขั้นห่วยหรือไม่

Checklist และสิ่งที่ควรทำ

    * รูป Thupnail มีขนาดเล็ก (ขนาดที่เหมาะสมควรใหญ่กว่า 150  x 150 pixel ถ้าจะให้ดีควรได้ประมาณ 200 x 200 pixel)
    * รูป สินค้า(รูปหลัก) มีขนาดเล็ก (ความกว้างของรูปควรใหญ่กว่า 480 pixel และไม่ควรเกิน 640pixel เพราะต้องคำนึกถึงการโหลดของหน้านั้นๆ ด้วย)
    * รูปสินค้าไม่ชัด
    * รูป สินค้าขนาดไม่เท่ากัน หรือรูปแบบแตกต่างกัน (หลายเว็บขี้เกียจถ่ายรูปสินค้า ก็เลยไปค้นรูปจาก google ทำให้รูปไม่ค่อยชัด แถมเล็กบ้าง ใหญ่บ้าง พื้นหลังก็ไปคนละแนว)
    * รูป น้อยเกินไป ยิ่งเป็นสินค้าที่มีค่ามากเท่าใด ก็ยิ่งต้องมีรูปสินค้าในหลายๆ มุมมอง รูปสินค้าที่ดีควรอยู่ระหว่าง 4-6 รูป เว้นเสียแต่ว่า สินค้านั้น มีไม่กี่มุมมอง และแต่รูปสินค้าแต่ละรูปไม่แตกต่างกันมากนัก เช่น ถุงยางอนามัย แบบชิ้น อย่างนี้ถ่ายหน้าหลัง ก็พอแล้วครับ แต่ถ้าเป็นรองเท้า หรือกระเป๋า ก็ควรมีรูปประมาณ 4 รูปขึ้นไปครับ และจะดีมากถ้าได้รูปสินค้าซัก 6 รูป (แต่ที่ผมเห็นส่วนมากในเว็บขายของไทยคือ รูปเดียวเล็กๆ @34 )
    * จัด รูปสินค้าในหน้า catalog ไม่น่าดู รูปสินค้าในหน้าแสดงสินค้า หากเป็นสินค้าชิ้นใหญ่ควรจัดไม่เกิน 4 column (เช่นพวกเสื้อผ้า กระเป๋ารองเท้า ต่างหู) และควรให้รูปสินค้าเด่นที่สุด ไม่ควรยัดเยียดรายละเอียดสินค้าในหน้าแสดงสินค้า รายละเอียดสินค้าคลิ๊กเข้าไปดูจะเหมาะกว่าครับ
    * ถ้าขายสินค้าประเภท ที่ต้องใช้นางแบบ เช่น เสื้อผ้า กระเป๋า หรือสินค้าแฟชั่น จงมั่นใจว่า นางแบบคุณสวยเข้าขั้นดารา และถ่ายรูปแล้วออกมาดูดี เพราะถ้านางแบบขี้เหร่ หรือถ่ายรูปออกมาแล้วไม่ดี คงไม่มีใครอยากซื้อ เสื้อผ้าโดยมาก แม้ว่าจะไม่สวย แต่ถ้าได้นางแบบแจ่มๆ ก็ช่วยให้ขายได้ดีเหมือนกันครับ  สิ่งนี้ทำให้สินค้าจำพวกเสื้อผ้าหรือแฟชั่น ทำร้านให้วยๆ ยากมาก

ผม ไม่ได้แนะนำให้ทุกท่านต้องมีกล้องราคาแพงนะครับ แต่ต้องรู้ว่ารูปที่ดีควรเป็นแบบไหน และใช้ทรัพกรที่เรามี ทำออกมาให้ดีเท่าที่จะเป็นไปได้  แม้แต่ตัวผมเอง แม้จะพอรู้ว่ารูปแบบไหนถึงจะเป็นรูปสินค้าที่ดี แต่ด้วยข้อจำกัดของกล้อง Compact ราคา 5,000 กว่าบาท อายุ 2 ปี กว่าทำให้ทำอะไรไม่ได้มาก แต่การจัดแสง จัดฉาก และใช้พวกโปรแกรมตกแต่งภาพช่วย ก็ทำให้ภาพออกมาพอใช้ได้ และที่สำคัญคือรูปชัดและดีกว่าที่ท่านหาจาก Google แน่นอน

อันตรายข้อหนึ่งของคนที่ชอบหารูปสินค้าจาก Google แทนที่จะถ่ายรูปสินค้าด้วยตัวเองก็คือ หากลูกค้าของเราค้นหาสินค้า ทาง Google แต่มีรูปสินค้า ขึ้นในผลการค้นหาด้วย เมื่อคลิ๊กไปดู ปรากฏว่ามาจากเว็บอื่น ที่ไม่ใช่เว็บเรา ลูกค้าก็จะลดความน่าเชื่อถือในเว็บเรา และไม่มั่นใจว่ารูปสินค้าในเว็บเรานั้น จะมีตัวตนสินค้าอยู่จริงหรือไม่(เพราะแม้แต่รูปสินค้าของตัวเอง ยังต้องไปหามาจากที่อื่นเลย)

วิธีการที่ดีที่สุด คือถ่ายรูปเองครับ และถ้าคุณเหนื่อยกับการถายรูปสินค้า อย่าลืมใส่ลายน้ำจาง แสดงความเป็นเจ้าของรูปไว้ด้วยนะครับ ป้องกันเว็บขายของเว็บอื่นชุดมือเปิบ ก็ไม่ได้หวงหรอกครับ แต่การมีรูปเหมือนๆ กันจากหลายเว็บ มันก็เหมือนเราเอารูปมาจากเว็บคนอื่น ทั้งๆ ที่ถ่ายเอง 555...

อีก อย่างถ้าท่านพอมีเงินเหลือ  กล้อง DSLR เป็นทางเลือกที่ดีกว่าครับ และอย่าลืมถ่ายรูปด้วยตัวเองด้วยนะครับ(จ้างมืออาชีพก็ได้ครับ ถ้ามีเงินเหลือ และภาพนั้นขายคุ้ม เช่น ขายพวก jewelry)

ดูตัวอย่างเว็บขายสินค้าที่มีรูปดีๆ กันนะครับ(เว็บเหล่านี้ก็ทำด้วย Magento นะครับ)

ข้อผิดพลาดที่ 4. ซื้อยาก ซื้อเย็น ซื้อไม่เป็นซื้อไม่ได้

ข้อนี้ถือเป็นความผิดพลาดร้ายแรงเลยครับ ถ้าหากเว็บที่ท่านสร้างขึ้น ต้องกรอกอะไรมากมาย หรือมีขั้นตอนซับซ้อนในการสั่งซื้อสินค้า ซึ่งถ้าเว็บของท่านเป็นแบบนั้น  มีความเป็นไปได้สูงมากที่ลูกค้าจะทำการปิดเว็บเราไปก่อนที่จะสั่งสินค้า เสร็จ  หรือไม่ซื้อสินค้าเลย  จำไว้เสมอว่า การสั่งซื้อสินค้าสำหรับคนไทยให้  “ทำให้เข้าใจง่ายที่สุด”  หากใช้ CMS ในการทำเว็บไซต์ แล้วแปลเป็นภาษาไทย ก็ควรใช้ศัพท์ แบบภาษาบ้านๆ พื้นๆ เข้าใจง่าย เช่น  คำว่า “add to cart” ก็ควรแปลว่า หยิบใส่รถเข็น หรือ หยิบใส่ตะกร้า  ไม่ควรแปลว่า เพิ่มสินค้าไปยังรถเข็น

หากลูกค้าต้องกรอกข้อมูล เช่นที่อยู่สำหรับจัดส่งสินค้า หรือข้อมูลอื่นๆ ก็ควรมีเฉพาะเท่าที่จำเป็นเท่านั้น ไม่ควรมีช่องอะไรมากมายให้วุ่นวาย แต่หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ ก็อย่าโชว์ช่องกรอกทั้งหมดออกมาในทีเดียว เดี๋ยวลูกค้าจะท้อใจไปซะก่อน

ปล.มีบางเว็บที่ร้ายแรงกว่านั้น คือ ต้องโหลดใบสั่งซื้อสินค้าไป กรอกรายละเอียด จากนั้นก็ Scan แนบไฟล์กลับไป หรือสั่งซื้อทางอีเมล์ จำรหัสสินค้า พิมพ์สั่งซื้อ อะไรที่มัยวุ่นวาย ต้องเปิดหลายๆ หน้า หลายๆ เว็บ แค่คิดก็น่าเบื่อแล้วครับ

สิ่งที่ควรทำ

หยิบสินค้าใส่รถเข็น > Checkout ง่ายๆ กรอกเฉพาะ ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรก็พอถ้าเราไม่ต้องใช้เบอร์โทรลูกค้า หรือคิดว่าอีเมล์ก็เพียงพอแล้ว ก็ไม่ต้องมีก็ได้ครับ) หรือถ้าสมัครสมาชิกไว้แล้ว ก็ให้ผ่านขั้นตอนนี้ไปได้เลย หน้าเว็บอย่ารก ปุ่ม Checkout หรือจ่ายเงิน ใหญ่ๆ เด่นๆ หาง่าย> จ่ายเงิน จบ!

ความจริงยังมีเรื่องการจ่ายเงินอีกเรื่องนะครับที่ต้องพูดถึง แต่มันจะแตกเป็นประด็นปลีกย่อยอีกเยอะ ผมเลยว่าจะข้ามไปก่อน แล้วจะเขียนโดยละเอียดให้อ่านกันอีกครั้ง  แต่เนื้อหาโดยสรุปของการจ่ายเงินผ่านการซื้อของออนไลน์ก็คือ ทำยังไง ให้เงินออกจากกระเป๋าลูกค้าได้สะดวกที่สุด โดยที่ลูกค้าไม่ต้องลุกไปไหน

ข้อผิดพลาดที่ 5 อยากขาย แต่ไม่อยาก Contact ลูกค้า

เป็นพ่อค้าออนไลน์ อยากขายสินค้า แต่ผมก็ยังแปลกใจที่พบว่าหลายๆ เว็บ หาวิธีติดต่อพ่อค้ายากมาก หรือบางทีลูกค้าโทรมาก็ไม่อยากรับโทรศัพท์ เหมือนไม่เต็มใจที่จะขายของสินค้า  การติดต่อพ่อค้านี้ไม่ได้หมายถึงทางโทรศัพท์หรือทางอีเมล์อย่างเดียวนะครับ พยามยามคิดหาหลายๆ ช่องทาง หลายๆ รูปแบบที่ทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าติดต่อเราได้ตลอดเวลา อาจไม่ใช่ทางโทรศัพท์หรือทางอีเมล์ก็ได้(โทรศัพท์กับอีเมล์ก็สำคัญนะครับ จนต้องแยกออกมาเป็นอีกหัวข้อหนึ่ง) เพราะบางทีถ้าลูกค้าเยอะ รับโทรศัพท์อย่างเดียวก็เหนื่อยแล้วครับ การเพิ่มช่องทางติดต่อทางอื่นด้วย จะช่วยให้เรา รับโทรศัพท์น้อยลง แต่ติดต่อลูกค้าได้มากขึ้น

สิ่งที่ควรทำ

ควรสร้างช่องทางที่ลูกค้าติดต่อได้มากกว่าการมีแค่โทรศัพท์และอีเมล์ มีอยู่ 3 อย่างที่ผมอยากแนะนำ คือ

   1. เมนู "ติดต่อเรา" เป็นช่องทางที่สะดวกกว่าการส่งอีเมล์ และประหยัดกว่าการโทรศัพท์ครับ ควรเป็นเมนูที่หาง่ายและเด่นชัด หากเมนูอยู่ด้านบนของจอ ควรอยู่ด้านซ้ายสุดครับ
   2. LiveHelp ผมแปลเป็นไทยว่า "คุยกับเจ้าของร้าน" (ใครแปลเป็นคำอื่นแล้วเข้าใจง่ายกว่านี้รบกวนด้วยนะครับ) เป็นระบบที่ดีมากครับ คือถ้าเราออนไลน์อยู่ ก็จะแสดงสถานะว่ากำลังออนไลน์ที่หน้าเว็บและลูกค้าสามารถคุยส่วนตัวแบบสดๆ ได้เลย ผมใช้ LiveZilla  เป็นตัวขับเคลื่อนนะครับ
   3. "ฝากข้อความ" เมนูนี้เอาไว้ให้ลูกค้าฝากคำถาม หรือเราเอาไว้แจ้งเลขที่พัสดุ ก็สะดวกดีครับ

บางท่านอาจพูดว่า ทำไมไม่ติดตั้งเว็บบอร์ดเพิ่มเข้าไปด้วยละ จะไม่สะดวกเพิ่มขึ้นหรือ การมีเว็บบอร์ดในเว็บขายสินค้า เหมือนดาบสองคมครับ อาจกลับมาทำร้ายเว็บเราได้เอง เช่น ถ้าเว็บเราขายไม่ดี เว็บบอร์ด ก็จะโคตรโล่ง เป็นการประกาศว่า เว็บเราไม่ค่อยมีลูกค้า ลูกค้าไม่ค่อยซื้อ ลูกค้าที่มาเจอเว็บเราในภายหลัง และพบว่าเว็บบอร์ดโล่งๆ ก็พาลหมดความน่าเชื่อถือในตัวเว็บไปด้วย หรือที่ต้องเจอแน่ๆ คือ 1 คนถาม ก็ตั้ง 1 หัวข้อ เว็บบอร์ดก็จะรกๆ แต่ไม่ค่อยมีคนตอบครับ มีแต่คนถาม เป็นเว็บบอร์ดที่ไร้คุณภาพครับ


ข้อผิดพลาดที่ 6 : คิดค่าขนส่งผิดพลาด

หลายสิ่งที่จูงใจให้คนส่วนมากซื้อของออนไลน์ เช่น ราคาที่ถูกกว่าท้องตลาด สินค้าที่หาไม่ได้ทั่วไป  สินค้าที่อายที่จะซื้อทั่วไป หรือซื้อทีละเยอะๆ แล้วไม่สะดวก การซื้อของออนไลน์ย่อมเป็นทางเลือกที่ดีกว่า แต่สิ่งหนึ่งที่สะกิดใจคนซื้อมากที่สุดคือ ค่าขนส่งสินค้า เพราะค่าขนส่งสินค้านั้นจะทำให้ผู้ซื้อรู้สึกว่ามันเป็นสิ่งที่ต้องจ่าย เพิ่ม  หรือเป็นส่วนเกินจากการซื้อสินค้า ไม่ได้เกี่ยวกับราคาของตัวสินค้าเลย เกิดการเปรียบเทียบกับการซื้อสินค้าตามปรกติที่ไม่ต้องเสียค่าขนส่ง  เมื่อเป็นเช่นนั้น ย่อมเป็นสิ่งที่ทำให้ผู้ซื้อไม่อยากจ่าย พาลไม่อยากซื้อของในเว็บ

สิ่งที่ควรทำ

อย่าทำให้ผู้ซื้อรู้สึกว่า ต้องถูกเอาเปรียบจากค่าขนส่ง หรือค่าขนส่งนั้นไม่ยุติธรรม  หากคุณมีการจัดส่งหลายๆ แบบ เช่น มีการจัดส่งแบบพัสดุธรรมดา  คิด  15 บาท, พัสดุลงทะเบียนคิด  30  บาท, EMS คิด 50 บาท  ซึ่งผู้ขายอาจมองว่าไม่มาก  แต่ลูกค้าหลายๆ คน อาจคิดถึงค่าไปรษณีย์อย่างเดียว ไม่ได้คิดต้นทุนเรื่องกล่อง เรื่อง Package หรือค่าน้ำมัน  ค่าเสียเวลาเดินทางไปรษณีย์ของเราด้วย ทำให้รู้สึกว่าค่าขนส่งนั้นไม่ค่อยยุติธรรม

ไม่ต้องเสียเวลาอธิบายครับ  เทคนิคหนึ่งที่ช่วยให้ลูกค้ารู้สึกว่าค่าขนส่งนั้นถูกคิดตามจริง ไม่มีการชาร์จเพิ่มนั้นคือ ให้ตั้งค่าขนส่งสินค้าด้วยเลขที่ไม่ลงตัว เช่น แทนที่จะคิดค่าขนส่งเป็น 15, 30, 50 บาท  ก็ให้คิดเป็น 13, 27, 44 บาท อย่างนี้เป็นต้น

และถ้าคุณสามารถบวกราคาค่าขนส่งเข้าไปในราคาค่าสินค้าได้ และลดค่าขนส่งลง จะช่วยให้เว็บเราน่าซื้อของขึ้นเยอะครับ

การจัดโปรโมชั่นจัดส่งฟรีเมื่อซื้อสินค้าตั้งแต่ XXX ขึ้นไป จัดส่งสินค้าแบบ ems ฟรี! ก็เป็นทางเลือกที่ดีเช่นกันครับ ที่สำคัญก็คือ อย่าลืมแจ้งค่าขนส่งให้ลูกค้าทราบด้วยนะครับ ว่าเรามีการจัดส่งแบบไหนบ้าง และราคาเท่าไหร่  ลูกค้าจะได้ไม่ต้องถามให้เสียเวลา และทำให้เว็บเราดูดีอีกด้วย
 

ที่มา : http://www.thaiseoboard.com/index.php/topic,94886.0.html